วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ใบความรู้ที่ 1 เรื่องความหมายของละครและประเภทของละคร


ใบความรู้ที่ 1
เรื่องความหมายของละครและประเภทของละคร
ความหมายของละคร   ละคร หมายถึง ศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นจากการนำภาพ ประสบการณ์ และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่องราว แล้วนำเสนอแก่ผู้ชม โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมาย นอกจากนี้ ยังมีนักปราชญ์ นักศึกษา ท่านผู้รู้ ได้ให้นิยามความหมายของละครแตกต่างกันออกไป   ละคร คือ   มหรสพอย่างหนึ่งที่เล่นเป็นเรื่องต่างๆ มุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความบันเทิงใจ สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเร้าความรู้สึกของผู้ดู ขณะเดียวกันผู้ดูก็จะได้แนวความคิด คติธรรม และปรัชญาจากการละครนั้น ละครเป็นวรรณกรรมรูปแบบหนึ่งที่แสดงออกซึ่งอารมณ์ของมนุษย์ โดยสร้างตัวละคร และสถานการณ์ขึ้น เพื่อให้ตัวละครแสดงอารมณ์ออกมาตามสถานการณ์ ก่อให้เกิดเหตุการณ์สอดคล้องสืบเนื่องกันเป็นเรื่องใหญ่ หากเรื่องเล็กๆที่ตัดออกเป็นตอนๆนั้น หากเรื่องเล็กๆที่ตัดออกเป็นตอนๆนั้น่อเนื่องกันได้โดยสนิท เป็นที่พอใจของคนดูก็นับว่าละครเรื่องนั้นเป็นละครที่ดี
ประเภทของละคร
  ละครแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
       1.  ละครแนวไม่เหมือนจริง คือ ละครที่ให้ภาพชีวิตความเป็นจริงสะท้อนชีวิตในสังคมและความเป็นอยู่ของชุมชน ออกมาเป็นเรื่องราว ดังคำกล่าวที่ว่า "ละครคือชีวิต"
        2. ละครแนวไม่เหมือนจริง คือ ละครที่ให้ภาพของการแสดงหลุดออกไปจากชีวิตประจำวัน โดยยึดคนดูเป็นเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้คนดูเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ตื่นเต้น และผู้ดูจะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ชีวิตจริง แต่ก็สวยงาม ประณีตวิจิตรบรรจง มีเสน่ห์ประทับใจคนดู 
มี

ใบความรู้โครงสร้างบทละคร


ใบความรู้ที่ 1
เรื่องโครงสร้างบทละครไทย
            ละคร เป็นการแสดงศิลปะอย่างหนึ่ง ที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์คู่กับมนุษยชาติ และมีอยู่ด้วยกันทุกชาติทุกภาษา จะแตกต่างก็แต่แบบอย่างทางศิลปะ และความประณีต ละเอียดอ่อน ตามความนิยมของมนุษย์ในสังคมนั้น ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสังคม ละครเป็นการแสดงที่สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และศิลปวัฒนธรรมในด้านต่างๆของชาตินั้นๆได้เป็นอย่างดี ตลอดทั้งยังเป็นเครื่องบันเทิงใจที่จะทำให้มนุษย์ได้เข้าใจ และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขโดยมีโครงสร้างบทดังนี้
1.  จุดเริ่มต้น (beginning) ช่วงของการเปิดเรื่อง แนะนำเรื่องราว ปูเนื้อเรื่อง
2.การพัฒนาเรื่อง (developing) การดำเนินเรื่อง ผ่านเหตุการณ์เดียวหรือหลายเหตุการณ์ เนื้อเรื่องจะมีความซับซ้อนมากขึ้น
3.จุดสิ้นสุด (ending) จุดจบของเรื่อง แบ่งออกเป็นแบบสมหวัง (happy ending) ทำให้รู้สึกอิ่มเอมใจ และแบบผิดหวัง (tragedy/ sad ending) ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ
4.เรื่อง (story) หมายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นและดำเนินไปสู่จุดสิ้นสุด เรื่องอาจจะสั้นเพียงไม่กี่นาที อาจยาวนานเป็นปี หรือไม่รู้จบ (infinity) ก็ได้ สิ่งสำคัญในการดำเนินเรื่อง คือปมความขัดแย้ง (conflict) ซึ่งก่อให้เกิดการกระทำ ส่งผลให้เกิดเป็นเรื่องราว
5. แนวความคิด (concept) เรื่องที่จะนำเสนอมีแนวความคิด (Idea) อะไรที่จะสื่อให้ผู้ชมรับรู้
6. แก่นเรื่อง (theme) คือประเด็นเนื้อหาสำคัญหรือแกนหลัก (Main theme) ของเรื่องที่จะนำเสนอ ซึ่งอาจประกอบด้วยประเด็นรองๆ (sub theme) อีกก็ได้ แต่ต้องไม่ออกนอกแนวความคิดหลัก
7. เรื่องย่อ (plot) เป็นจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่ เรื่องที่นำมาจากเหตุการณ์จริง เรื่องที่ดัดแปลงมาจากวรรณกรรม หรือแม้แต่เรื่องที่ลอกเลียนแบบมาจากภาพยนตร์อื่น สิ่งแรกนั้นเรื่องต้องมีความน่าสนใจ มีใจความสำคัญชัดเจน ต้องมีการมีการตั้งคำถามว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น (What...if...?) กับเรื่องที่คิดมา และสามารถพัฒนาขยายเป็นโครงเรื่องใหญ่ได้
8. โครงเรื่อง (treatment) เป็นการเล่าเรื่องลำดับเหตุการณ์อย่างมีเหตุผล เหตุการณ์ทุกเหตุการณ์จะต้องส่งเสริมประเด็นหลักของเรื่องได้ชัดเจน ไม่ให้หลงประเด็น โครงเรื่องจะประกอบด้วยเหตุการณ์หลัก (main plot) และเหตุการณ์รอง (sub plot) ซึ่งเหตุการณ์รองที่ใส่เข้าไป ต้องผสมกลมกลืนเป็นเหตุเป็นผลกับเหตุการณ์หลัก
9. ตัวละคร (character) มีหน้าที่ดำเนินเหตุการณ์จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสิ้นสุดของเรื่อง ตัวละครอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นนามธรรมไม่มีตัวตนก็ได้ การสร้างตัวละครขึ้นมาต้องคำนึงถึงภูมิหลังพื้นฐาน ที่มาที่ไป บุคลิกนิสัย ความต้องการ อันก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆของตัวละครนั้นๆ ตัวละครแบ่งออกเป็นตัวแสดงหลักหรือตัวแสดงนำ และตัวแสดงสมทบหรือตัวแสดงประกอบ ทุกตัวละครจะต้องมีส่งผลต่อเหตุการณ์นั้นๆ มากน้อยตามแต่บทบาทของตน ตัวเอกย่อมมีความสำคัญมากกว่าตัวรองเสมอ
10. บทสนทนา (dialogue) เป็นถ้อยคำที่กำหนดให้แต่ละตัวละครได้ใช้แสดงโต้ตอบกัน ใช้บอกถึงอารมณ์ ดำเนินเรื่อง และสื่อสารกับผู้ชม ภาพยนตร์ที่ดีจะสื่อความหมายด้วยภาพมากกว่าคำพูด การประหยัดถ้อยคำจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ความหมายหรืออารมณ์บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ถ้อยคำมาช่วยเสริมให้ดูดียิ่งขึ้นก็ได้